เมนู

เดือดร้อน 2 อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 4



คำที่เหลือในสูตรที่ 4 นี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 4

สูตรที่ 5



ว่าด้วยคุณของธรรม 2 อย่าง



[251] 5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม 2 อย่าง
คือ ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม 1 ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนใน
ความเพียร 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเริ่มตั้งความเพียรอัน
ไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและ
เลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วย
เรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ
แล้ว จกไม่หยุดความเพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณอันเรานั้น
ได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน
ยอดเยี่ยม อันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะพึงเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะ
เหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจง
เหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความ

เพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ต้องการนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ต่อกาลไม่นานเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และ
กระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผล
ที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วย
ความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
จบสูตรที่ 5

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทฺวินฺนาหํ ตัดบทเป็น ทฺวินฺนํ อหํ. บทว่า อุปญฺญาสึ
ความว่า ได้เข้าไปรู้ คือทราบคุณ อธิบายว่า แทงตลอด บัดนี้ เมื่อ
จะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ยา จ อสนฺตุฏฺฐิตา
เป็นต้น. เพราะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยธรรม 2 นี้ บรรลุพระ-
สัพพัญญุตญาณ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงอานุภาพของธรรม 2 อย่างนั้น
จึงตรัสอย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ
ธมฺเมสุ
นี้ แสดงความดังนี้ว่า เราไม่สันโดษด้วยเพียงฌานนิมิตหรือ
ด้วยเพียงโอภาสนิมิต ยังอรหัตมรรคให้เกิดขึ้นได้ คือเราไม่สันโดษ
ชั่วเวลาที่อรหัตมรรคยังไม่เกิดขึ้น. และเราไม่ท้อถอยในความเพียรตั้งอยู่